เมนู

บ้านนั้น ชื่อว่าที่อยู่อาศัยดุจเป็นที่โคจ่อมเป็นต้น. บรรดาหมู่ต่าง และหมู่
เกวียนเป็นต้น หมู่ใดหมู่หนึ่ง ชื่อว่าสัตถะ. อนึ่ง ในสิกขาบทนี้ นิคมก็ดี
บ้านก็ดี พึงทราบว่า ท่านถือเอาด้วย คามศัพท์ทั้งนั้น.

[

อรรถาธิบายเขตอุปจารบ้านและเรือนเป็นต้น

]
คำว่า อุปจารบ้าน เป็นต้น พระองค์ตรัส เพื่อแสดงการกำหนดป่า.
สองบทว่า อินฺทขีเล ฐิตสฺส ความว่า ได้แก่บุรุษผู้ยืนอยู่ที่เสา
เขื่อนร่วมในแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อน 2 เสา ดุจอนุราธบุรี ฉะนั้น. จริงอยู่
เสาเขื่อนภายนอก แห่งอนุราธบุรีนั้น โดยอภิธรรมนัย ย่อมถึงการนับว่า
เป็นป่า. อนึ่ง ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบ้านที่มีเสาเขื่อนเสาเดียว
หรือผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลางแห่งบานประตูบ้าน. แท้จริง ในบ้านใด ไม่มีเสาเขื่อน,
ตรงกลางแห่งบานประตูบ้าน ในบ้านนั่นแล เรียกว่า เสาเขื่อน. เพราะเหตุนั้น
ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า ได้แก่ บุรุษผู้ยืนอยู่ที่ท่ามกลาง แห่งบานประตูบ้าน.
บทว่า มชฺฌิมสฺส ความว่า ได้แก่ บุรุษมีกำลังปานกลาง หาใช่
บุรุษขนาดกลางผู้มีกำลังพอประมาณไม่ คือ บุรุษผู้มีกำลังน้อยหามิได้เลย ทั้ง
ไม่ใช่บุรุษมีกำลังมาก, มีคำอธิบายว่า ได้แก่ บุรุษผู้มีกำลังกลางคน.
บทว่า เลฑฺฑุปาโต ได้แก่ สถานที่ตกแห่งก้อนดินที่เขา
ไม่ได้ขว้างไป เหมือนอย่างมาตุคาม จะให้พวกกาบินหนีไป จึงยกมือขึ้นโยน
ก้อนดินไปตรง ๆ เท่านั้น และเหมือนอย่างพวกภิกษุวักน้ำสาดไปในโอกาสที่
กำหนดเขตอุทกุกเขป แต่ขว้างไปเหมือนคนหนุ่ม ๆ จะประลองกำลังของตน
จึงเหยียดแขนออกขว้างก้อนดินไป ฉะนั้น. แต่ไม่ควรกำหนดเอาที่ซึ่งก้อนดิน
ตกแล้วกลิ้งไปถึง.

ก็ในคำว่า บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่อุจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก1 นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- บุรุษกลางคน ผู้ยืนอยู่ที่
น้ำตกแห่งชายคา โยนกระด้งหรือสากให้ตกไป ชื่อว่า อุปจารเรือน. ใน
อรรถกถากุรุนทีท่านกล่าวไว้ว่า บุรุษกลางคนผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ขว้าง
ก้อนดินไปตก ชื่อว่า อุปจารบ้าน. ถึงในอรรถกถามหาปัจจรี ท่านก็กล่าวไว้
เช่นนั้นเหมือนกัน. อนึ่ง ในมหาอรรถกถา ท่านตั้งมาติกาไว้ว่า ชื่อว่าเรือน
ชื่อว่าอุปจารเรือน ชื่อว่าบ้าน ชื่อว่าอุปจารบ้าน แล้วกล่าวว่า ภายในที่น้ำตก
แห่งชายคา ชื่อว่าเรือน. ส่วนที่ตกแห่งน้ำล้างภาชนะ ซึ่งมาตุคาม ผู้ยืนอยู่ที่
ประตูสาดทิ้งลงมา และที่ตกแห่งกระด้งหรือไม้กวาด ที่มาตุคามเหมือนกันซึ่ง
ยืนอยู่ภายในเรือนโยนออกไปข้างนอกตามปกติ และเครื่องล้อมที่เขาต่อที่มุม
สองด้านข้างหน้าเรือน ตั้งประตูกลอนไม้ไว้ตรงกลางทำไว้สำหรับกันพวกโค
เข้าไป แม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่าอุปจารเรือน. ภายในเลฑฑุบาตของบุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ชื่อว่า บ้าน. ภายในเลฑฑุบาตอื่นจาก
นั้น ชื่อว่าอุปจารบ้าน. คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ ย่อมเป็นประมาณ
ในคำนี้ว่า บุรุษมีกำลังปานกลางผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนแห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ขว้างก้อนดินไปตก.2 เหมือนอย่างว่า คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้
ย่อมเป็นประมาณในที่นี้ ฉันใด, อรรถกถาวาทะก็ดี เถรวาทะก็ดี ที่ข้าพเจ้า
จะกล่าวในภายหลัง ก็พึงเห็นโดยความเป็นประมาณในที่ทั้งปวง ฉันนั้น.
ถามว่า ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถานี้ นั้นปรากฏเหมือนขัด
แย้งพระบาลี เพราะในพระบาลี พระองค์ตรัสไว้เพียงเท่านี้ว่า บุรุษมีกำลัง
ปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่อุปจารเรือนขว้างก้อนดินไปตก.3 แต่ในมหาอรรถกถา
//1. วิ. มหา. 1/85. 2-3 วิ. มหา. 1/85.

ท่านทำเลฑฑุบาตนั้นให้ถึงการนับว่าบ้านแล้วกล่าวอุปจารบ้าน ถัดเลฑฑุบาต
นั้นออกไป ?
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป :- คำทั้งหมดนั่นแล ท่านกล่าวไว้ใน
พระบาลีแล้ว. ส่วนความอธิบายในพระบาลีนี้ ผู้ศึกษาควรทราบ. ก็แล
ความอธิบายนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายเท่านั้นเข้าใจแจ่มแจ้ง. เพราะ
เหตุนั้น ลักษณะแห่งอุปจารเรือน แม้มิได้ตรัสไว้ในพระบาลีว่า ผู้ยืนอยู่ที่
อุปจารเรือน ดังนี้ ท่านก็ถือเอาด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่กล่าวไว้ในอรรถกถา
ฉันใด, แม้ลักษณะแห่งอุปจารเรือนที่เหลือ ก็ควรถือเอาฉันนั้น. ในศัพท์ว่า
คามูปจารนั้น ก็ควรทราบนัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่าบ้านในสิกขาบทนี้ มี 2 ชนิด
คือบ้านที่มีเครื่องล้อม 1 บ้านที่ไม่มีเครื่องล้อม 1. ในบ้าน 2 ชนิดนั้น
เครื่องล้อมนั่นเอง เป็นเขตกำหนดของบ้านที่มีเครื่องล้อม. เพราะเหตุนั้น ใน
พระบาลี พระองค์จึงไม่ตรัสเขตกำหนดไว้เป็นแผนกหนึ่ง แต่ได้ตรัสไว้ว่า
บุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ผู้ยืนอยู่ที่เสาเขื่อนแห่งบ้านที่มีเครื่องล้อม ขว้างก้อน-
ดินไปตก ชื่อว่าอุปจารบ้าน1 . ส่วนเขตกำหนดบ้าน แห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม
ก็ควรกล่าวไว้ด้วย. เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงเขตกำหนดบ้าน แห่งบ้านที่ไม่ได้
ล้อมนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ว่า บุรุษมีกำลังปานกลาง ยืนอยู่ที่อุปจารเรือน
แห่งบ้านที่ไม่ได้ล้อม ขว้างก้อนดินไปตก ( ชื่อว่าอุปจารบ้าน2 ) เมื่อแสดง
เขตกำหนดของบ้านไว้แล้วนั่นแล ลักษณะแห่งอุปจารบ้าน ใคร ๆ ก็อาจ
ทราบได้ โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในก่อนทีเดียว ; เพราะฉะนั้น พระองค์จึง
ไม่ตรัสซ้ำอีกว่า บุรุษมีกำลังปานกลางยืนอยู่ที่อุปจารเรือนนั้น ขว้างก้อนดิน
ไปตก. ฝ่ายอาจารย์ใด กล่าวเลฑฑุบาตของบุรุษมีกำลังปานกลาง ยืนอยู่ที่
//1-2. วิ. มหา. 1/85.

อุปจารเรือนนั่นเอง เป็นอุปจารบ้าน ดังนี้, อุปจารเรือนของอาจารย์นั้น
ย่อมพ้องกับคำว่า บ้าน. เพราะเหตุนั้น วิภาคนี้ คือ เรือน อุปจารเรือน บ้าน
อุปจารบ้าน ย่อมไม่ปะปนกัน. ส่วนข้อวินิจฉัยในเรือน อุปจารเรือน บ้าน
และอุปจารบ้านนี้ ผู้ศึกษาควรทราบโดยความไม่ปะปนกัน (ดังที่ท่านกล่าวไว้)
ในวิกาเลคามัปปเวสนสิกขาบทเป็นต้น. เพราะฉะนั้น บ้านและอุปจารบ้านใน
อทินนาทานสิกขาบทนี้ ผู้ศึกษาควรเทียบเคียงบาลีและอรรถกถาแล้ว ทราบ
ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. อนึ่ง แม้บ้านใด แต่ก่อนเป็นหมู่บ้านใหญ่
ภายหลัง เมื่อสกุลทั้งหลายสาบสูญไป กลายเป็นหมู่บ้านเล็กน้อย, บ้านนั้น
ควรกำหนดด้วยเลฑฑุบาตแต่อุปจารเรือนเหมือนกัน. ส่วนกำหนดเขตเดิม
ของบ้านนั้น ทั้งที่มีเครื่องล้อมทั้งที่ไม่มีเครื่องล้อม จะถือเป็นประมาณไม่ได้
เลย ฉะนี้แล.

[

อรรถาธิบายกำหนดเขตป่า

]
ป่าที่เหลือในอทินนาทานสิกขาบทนี้ เว้นบ้านและอุปจารบ้าน ซึ่งมี
ลักษณะตามที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ที่ชื่อว่าป่า คือ เว้นบ้านและอุปจารบ้านเสีย
พึงทราบว่า ชื่อว่าป่า. แต่ในคัมภีร์อภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
คำว่า ป่า นั้น ได้แก่ ที่ภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป นั้นทั้งหมด ชื่อว่า ป่า1.
พระองค์ตรัสไว้ในอรัญญสิขาบทว่า เสนาสนะที่สุดไกลประมาณ 500 ชั่วธนู
ชื่อว่า เสนาสนะป่า2. พึงทราบว่า เสนาสนะป่านั้น นับแต่เสาเขื่อนออกไป
มีระยะไกลประมาณ 500 ชั่วธนู โดยธนูของอาจารย์ที่ท่านยกขึ้นไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกเนื้อความแห่งคำนี้ว่า จากบ้าน
ก็ดี จากป่าก็ดี โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในพระบาลีอย่างนั้น จึงทรงแสดงส่วน
ทั้ง 5 ไว้ เพื่อป้องกันความอ้างเลศและโอกาสของเหล่าบาปภิกษุว่า เรือน
//1. อภิ. วิ. 35/338 ขุ. ปฏิ. 31/264. 2. วิ. มหา. 2/146.